ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดี

งานนโยบายที่สำคัญ

งานนโยบายที่สำคัญ

โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน ฯ
        โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เป็นโครงการบูรณาการระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีเป้าหมายเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากขึ้นเรื่อย ๆ และแนวโน้มสู่การเป็นภาระมากขึ้นทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มเป้าหมายของการดำเนินโครงการ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มปกติระยะก่อนเกิดโรค กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรค และกลุ่มป่วยทั้งที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีมาตรการดำเนินงานที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาระบบ สนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ระบบฐานข้อมูล ระบบการคัดกรอง ระบบ
การติดตามประเมินผล ตลอดจนต้องมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงาน
        1. จัดระบบบูรณาการการบริหารและบริการในพื้นที่
        2. ดำเนินการแต่งตั้ง NCD Board โดยบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการ โดยมีการจัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน
        3. มีการจัดทำแผนงานโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน โดยใช้งบประมาณจากแหล่งต่างๆ
        4. ตรวจสุขภาพเชิงรุกและคัดกรองประชาชน เพื่อลดปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
               4.1 แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง กลุ่มป่วย และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน
               4.2 ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มป่วยและกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เพื่อใช้ดำเนินการและติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินผล
        5. จัดระบบบริการ
               จัดตั้งคลินิก DPAC ที่ รพ.สต.บางใหญ่
        6. การจัดระบบข้อมูล
               จัดทำระบบการลงทะเบียน , ข้อมูลการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้โปรแกรม JHCIS , Surveillance
        7. พัฒนาหมู่บ้าน / ชุมชนต้นแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
               7.1 ดำเนินการให้ทุก รพ.สต. จัดตั้งชุมชนลดเสี่ยงลดโรค อย่างน้อย 1 ชุมชน ต่อ รพ.สต.
               7.2 มีการดำเนินการจัดตั้งชมรมคนรักษ์สุขภาพ ชมรมโรคเรื้อรัง
        8. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส ในพื้นที่ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

49
จำนวนและอัตราการคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป
อำเภอบางใหญ่  จังหวัดนนทบุรี  ปีงบประมาณ 2554

โรค
เป้าหมาย
ผลงาน
ปกติ
เสี่ยงสูง
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
เบาหวาน
44,820
37,123
82.83
34,232
92.21
2,637
7.10
ความดันโลหิตสูง
44,820
37,920
84.61
31,426
82.87
5,928
15.63
ข้อมูล ณ วันที่  30  มิถุนายน  2554

ผลการดำเนินงาน

องค์ประกอบ/เกณฑ์
เป้าหมาย
การดำเนินงาน


เป้าหมาย
ผลงาน
ร้อยละ
1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความ
ดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน
ที่กำหนด
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
44,820
37,123
82.83
2. หมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
อำเภอละ 1 หมู่บ้าน/ชุมชน
9
รอการประเมินจาก สสจ.









50
โครงการตรวจสุขภาพในพระสงฆ์ / ผู้นำศาสนา
        กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการตรวจสุขภาพพระภิกษุ สามเณร และโครงการตรวจสุขภาพผู้นำศาสนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ในนามของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง
 ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อตรวจและคัดกรองสุขภาพพระภิกษุ สามเณร และผู้นำศาสนาทั่วประเทศ ทั้งในส่วนภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้นำศาสนา ได้รับการดูแลสุขภาพให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างทั่วถึง และสามารถปฏิบัติศาสนกิจ / ภารกิจ ได้อย่างเต็มที่ โดยเริ่มตั้งแต่การได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองภาวการณ์เจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การได้รับคำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม การปฏิบัติดูแลตนเองในการป้องกันการเจ็บป่วยและเมื่อเจ็บป่วยแล้ว และการได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการ และการดูแลส่งต่อที่มีคุณภาพมาตรฐาน
 การดำเนินงาน
        1. ตรวจคัดกรองสุขภาพทั่วไป  โดยการตรวจร่างกาย   ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซักประวัติส่วนตัว ประวัติและพฤติกรรมสุขภาพ 
        -  เก็บข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ประวัติสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ
        -  การตรวจเบื้องต้น ได้แก่  น้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอว ความดันโลหิต ชีพจร 
        -  เก็บสิ่งส่งตรวจ   เลือด  ปัสสาวะ และ อุจจาระ
        -  X-ray ปอด (ตามแพทย์สั่ง)
        -  แพทย์ตรวจร่างกายทั่วไป  ได้แก่  การ ตรวจตา ตรวจฟัน ตรวจระบบต่างๆของร่างกาย และสภาพจิตใจ  เป็นต้น
        2. สำรวจอนามัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ สุขาภิบาลอาหาร น้ำดื่ม-
น้ำใช้ ห้องน้ำ-ห้องส้วม ระบบกำจัดน้ำเสีย ขยะมูลฝอย ตลอดจนสัตว์หรือพาหะนำโรค











51
สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพพระภิกษุ สามเณร และผู้นำศาสนา     
สถานบริการ
การดำเนินงาน
หมายเหตุ

เป้าหมาย
ผลงาน
ร้อยละ

รพช.บางใหญ่
113
113
100

สอ.ต.เสาธงหิน
46
27
58.70
มีพระลาสิกขา และย้ายที่อยู่ ในช่วงตรวจคัดกรอง จำนวน 19 รูป
สอ.ต.บางแม่นาง
89
89
100.00
มีพระลาสิกขา ในช่วงตรวจคัดกรอง จำนวน 8 รูป
สอ.ต.บางเลน
64
62
96.88

สอ.ต.บางใหญ่
46
43
93.48
มีพระลาสิกขา และย้ายที่อยู่ ในช่วงตรวจคัดกรอง จำนวน 3รูป
สอ.วิหารประชา
21
21
100

รวม
379
355
93.67










52
โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
การดำเนินงานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวของโรงพยาบาลบางใหญ่
        1. โรงพยาบาลบางใหญ่ ได้ดำเนินการประกาศ นโยบายสายใยรักแห่งครอบครัว ดังนี้
          1.1 รพ.บางใหญ่เป็นสถานบริการที่ให้บริการฝากครรภ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีการให้สุขศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์
          1.2  รพ.บางใหญ่เป็นสถานบริการที่มีความพร้อมในการทำคลอดตามมาตรฐานปลอดภัย สามารถให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนแก่มารดาและทารก และมีระบบส่งต่อระหว่างสถานบริการสาธารณสุข
           1.3  รพ.บางใหญ่มีการจัดอุปกรณ์และยาที่จำเป็นต่อการดูแลมารดาและทารกแรกเกิด
           1.4  รพ.บางใหญ่เป็นสถานบริการที่มีการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
           1.5. รพ.บางใหญ่เป็นสถานบริการซึ่งให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดบริการพัฒนาคุณภาพการบริการในเรื่องอนามัยแม่และเด็ก
        2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ในระดับโรงพยาบาล และระดับอำเภอ
        3. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
        4. พัฒนาคุณภาพระบบบริการ
        5. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องมือ และเวชภัณฑ์
        6. มีระบบเครือข่ายในการดูแล ติดตามมารดาและทารก
        7. ให้ชุมชนและครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลมารดา และทารก
การดำเนินงานสายใยรักแห่งครอบครัว ระยะตั้งครรภ์
        1. ให้บริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ครบตามเกณฑ์อย่างน้อย 4 ครั้ง
        2.พบแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง
        3. ให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการแก่หญิงตั้งครรภ์ ชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก และเกลือไอโอดีน ส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปาก ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
        4. จ่ายสมุดบันทึกหญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่มาฝากครรภ์ตรวจร่างกายทั่วไป
การดำเนินงานสายใยรักแห่งครอบครัว ระยะคลอด / หลังคลอด
        1. บริการการคลอดตามมาตรฐาน ดูแลมารดาและทารกแรกเกิดอย่างมีมาตรฐาน
        2. ฉีดวัคซีน (HBV)
        3. มีระบบส่งต่อ ให้กับรพ.สต.ในพื้นที่ ในการดูแลหลังคลออย่างต่อเนื่อง


53
การดำเนินงานสายใยรักแห่งครอบครัว ในคลินิกเด็กดี
        1. ประเมินการเจริญเติบโตด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
        2. ให้คำแนะนำและความรู้ด้านโภชนาการ
        3. จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กเด็ก 6 เดือน-3 ขวบ
        4. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
        5. ตรวจสุขภาพฟัน
        6. โรงเรียนพ่อ แม่
การดำเนินงานสายใยรักแห่งครอบครัว ดูแลต่อเนื่องหลังกลับบ้าน
        1. มีการจัดตั้งทีมนำทางคลินิก ในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ( PCT )
          - โดยสหวิชาชีพ เช่น แพทย์  พยาบาลห้องคลอด , พยาบาลฝากครรภ์ , พยาบาลหลังคลอด ,
งานชันสูตร , พยาบาลผู้ป่วยนอก , เภสัชกรรม
         - โดยมีสูติแพทย์เป็นประธาน
        - มีการประชุมทุก  1  เดือน
         - เพื่อวางแนวทางและระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ , คลอด , หลังคลอด
         - เพื่อทบทวน และรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ , คลอด , หลังคลอด
        - เพื่อดำเนินงานตามนโยบายโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
        2. มีการจัดตั้งคณะทำงานแม่และเด็กในระดับอำเภอ มีการประชุมทุก 3 เดือน , วางแนวทางการแก้ไขปัญหาตามตัวชี้วัดงานแม่และเด็ก , วางระบบการส่งต่อและแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์
       3. มีระบบบริการในคลินิกตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง  (High risk pregnancy)
แนวทางการดำเนินงานปี 2554
        1. กิจกรรมให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุขเรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์  โดยจัดอบรม ให้ความรู้เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ , วางแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระดับอำเภอ  
            2. ให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในสถานศึกษา เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
            3. กิจกรรมการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี  สำหรับมารดา ผู้ดูแล และเด็ก 3-5 ปี   โดย
               - การบรรยายบทบาทที่สำหรับ ของมารดา  ผู้ดูแล ในการดูแลเด็ก 3-5 ปี และความสำคัญของพัฒนาการเด็ก
               - จัดฐานการเรียนรู้  เป็น 4 ฐาน ได้แก่    ฐานกิน , กอด  , เล่น , เล่า
               - ประกวดการเล่าประสบการณ์การเลี้ยงดูเด็ก 3 - 5 ปี





54
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
เกณฑ์
เป้าหมาย
ผลงาน
2553
2554
อัตราหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์หรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
มากกว่า
ร้อยละ 55
32
39.14
อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองธาลัสซีเมีย
ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 80
100
100
อัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์  ครั้งที่ 1
อัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์  ครั้งที่ 2
ไม่เกิน
ร้อยละ 10
ไม่เกิน
ร้อยละ 10
14.97

16.96
17.42

16.67
อัตราแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี คลอดบุตร
น้อยกว่า
ร้อยละ 10
26.00
22.37
อัตราเด็กอายุ 0-6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
มากกว่า
ร้อยละ 25
52.30
49.26
พัฒนาการเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
มากกว่า
ร้อยละ 90
99.00
100.00
ร้อยละของเด็กอายุ 18-24 เดือน ติดเชื้อ HIV
จากแม่สู่ลูก
น้อยกว่า
ร้อยละ 3.6
0
0
จำนวนเด็กที่เจาะเลือดส้นเท้าเพื่อตรวจหา TSH

646
292
จำนวนเด็กที่เจาะเลือดส้นเท้าเพื่อตรวจหา TSH และมีค่า TSH  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 
มิลลิยูนิตต่อลิตร

1
( refer  พนก.)
1
(นัด F/U)
ทุกเดือน
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500  กรัม
น้อยกว่า
ร้อยละ 7
7.35
7
ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 1 นาที หลังคลอด
น้อยกว่า 30:1000
 การเกิดมีชีพ
26.8
20



55
โครงการประเทศไทยรวมพลังเพิ่มไอโอดีนเพิ่มไอคิว
สถานการณ์และสภาพปัญหา
        ระดับความรุนแรงของภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนในอำเภอบางใหญ่ ปี 2553 จากข้อมูลภาวะ THS พบว่า อำเภอบางใหญ่ ยังไมพบภาวะขาดสารไอโอดีน และจากการสุ่มตรวจหาไอโอดีนในเกลือบริโภค (แบบรายงานการสุ่มตรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนปี 2553) พบว่า มีไอโอดีนมากกว่า 30  PPM ร้อยละ 84.82
การดำเนินงาน
        1. มาตรการเกลือเสริมไอโอดีน
          ควบคุม กำกับ และปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเกลือบริโภค ควบคุมคุณภาพการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน ส่งเสริมให้มีการขายเกลือเสริมไอโอดีนและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน
        2. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 25  มิถุนายน 2554
          การรณรงค์ในวันไอโอดีนแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว อสม.
        3. บริหารจัดการและสร้างความเข็มแข็งภาคีเครือข่าย
          ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาผู้ประกอบการเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน ผลักดันให้ อปท. มีนโยบายและมาตรการ การควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยกองทุนสุขภาพตำบล ขับเคลื่อนให้เกิดชุมชน / หมู่บ้านไอโอดีน
        4. การเฝ้าระวังและติดตาม
          ตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนที่ใช้ในครัวเรือน จุดผลิต ร้านค้า ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนโดยชุด I-Kit ติดตามผลการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดที่มีภาวะฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone : TSH)
การเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิด อำเภอบางใหญ่
        มาตรการเฝ้าระวังภาวะขาดไอโอดีน มีการประชาสัมพันธ์การบริโภคสารไอโอดีนทั้งในอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเกลือไอโอดีน การแจกเกลือไอโอดีนให้หญิงฝากครรภ์รายใหม่ทุกคน ตั้งแต่ปี 2550
        ปี 2553 สุ่มตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์  41 ราย ผลการตรวจพบ ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตร ร้อยละ 21.95 ซึ่งไม่เกินเป้าหมาย ร้อยละ 50 ของหญิงตั้งครรภ์มีการบริโภคอาหารทะเล 1 -3 ครั้ง / สัปดาห์
        ปีงบประมาณ 2554 ได้รับการสนับสนุนยาเม็ดเสริมไอโอดีน โฟเลท และเหล็กแก่หญิงตั้งครรภ์ โดยแจกให้หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ทุกคน
56
        มาตรการเฝ้าระวังภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกเกิดที่คลอดที่โรงพยาบาลบางใหญ่ ตรวจคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกเกิด หลังคลอด 48 ชั่วโมง พบมีระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 11.2 มิลิยูนิตต่อลิตร ร้อยละ 0.35 น้อยกว่าเป้าหมาย  ส่วนที่ต้องมีการติดตามรักษากรณีพบมีระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 25 มิลลิยูนิตต่อลิตร ร้อยละ 0
        มาตรการเฝ้าระวังภาวะขาดไอโอดีนในระดับชุมชน
        สุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในบ้านผู้บริโภค ร้านค้า และโรงครัวในโรงเรียน สุ่มตรวจได้ทั้งหมด  53 ชนิด ผลการตรวจพบปริมาณไอโอดีนในเกลือมากกว่า 30 – 50 (PPM) ร้อยละ 11.32
ผลการดำเนินงาน
เกณฑ์
การดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลงาน
ร้อยละ
ร้อยละ 90 ของเกลือบริโภคที่จำหน่ายในท้องตลาดมี
ปริมาณไอโอดีน ตามมาตรฐานที่กำหนด
402
341
84.83
ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน
465
465
100.00
สัดส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ 50
41
9
21.95
จำนวนทารกแรกเกิดอายุ 2 วันที่มีระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตร
ไม่เกิน ร้อยละ 3
286
1
0.35





















57
 

การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
การดำเนินงาน
        1. สรุป วิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงาน เพื่อวางแผน การดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
        2. กำหนดเป้าหมาย โดยตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ในหญิงอายุ 30 – 60 ปี ในปี 2554 ในอัตรา ร้อยละ 40 ในมะเร็งปากมดลูก และอัตรา ร้อยละ 90 มะเร็งเต้านม
        3. ประสานกองทุนสุขภาพท้องถิ่นในการสนับสนุนงบประมาณ
        4. ชี้แจงการดำเนินงาน ปี 2554 และสนับสนุนการดำเนินงานให้สถานีอนามัย
        5. ดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย และคีย์ข้อมูลส่งสถาบันมะเร็ง
        6. รณรงค์ให้ความรู้ สร้างกระแส ให้มีการตรวจเต้านม และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
        7. รอรับแจ้งผลตอบกลับจาก สสจ.กรณีที่พบผลผิดปกติ เพื่อส่งต่อรักษา

ผลการดำเนินงาน
เกณฑ์
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลงาน
อัตรา
ร้อยละ 40 ของสตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
20,621
5,521
26.77
ร้อยละ 90 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาและส่งต่อ
8
8
100.00
ร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
20,963
18,774
89.56










58
การดำเนินงานการดูแลปัญหาสุขภาพจิต
        ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาผลกระทบทางสุขภาพจิตที่รุนแรงที่สุด จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลถูกบีบคั้นหรือคับข้องใจอย่างรุนแรง ถือเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตโดยรวม โดยดูเรื่องอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคน ในปี 2553 อัตราอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แต่เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าสภาพเศรษฐกิจสังคมในอนาคตมีแต่จะกดดันมากขึ้น ปัญหานี้จึงยังคงต้องได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
        จากการดำเนินงานที่ผ่านมา อำเภอบางใหญ่ ยังไม่พบผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่ในด้านการดูแลผู้มีปัญหาภาวะซึมเศร้าได้ดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนด
การดำเนินงาน
        1. ประชุมทีมงานเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ และหาแนวทางแก้ไขปัญหา
        2. ด้านการจัดระบบดูแลช่วยเหลือแบบครบวงจรในชุมชน
          2.1 พัฒนาทักษะ ความรู้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรื่องแนวทางการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เพื่อเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการดูแล ช่วยเหลือและติดตามอย่างต่อเนื่อง
          2.2 พัฒนาทักษะ ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขเรื่องแนวทางการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชุมชน เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำในการเฝ้าระวังและช่วยเหลือเบื้องต้น
        3. ด้านการสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหา
          3.1 พัฒนาทักษะ ความรู้แกนนำชุมชนและผู้นำศาสนา เรื่องแนวทางการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชุมชนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน
          3.2 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน โดยผ่านทางเสียงตามสาย
สื่อต่างๆ           
        4. ด้านการคัดกรอง ค้นหา การดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชน
          4.1 สำรวจภาวะสุขภาพจิตผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า
และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง
          4.2 อาสาสมัครสาธารณสุขคัดกรอง และเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องทุก 6 เดือน
        5. กระตุ้นให้เกิดกลุ่มจิตอาสาในชุมชน ในการดำเนินงานเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย เช่น การเป็นที่ปรึกษาเมื่อมีความเครียด ไม่สบายใจ
 ผลการดำเนินงาน

เกณฑ์
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลงาน
อัตรา
อัตราการติดตามดูแลผู้พยายามฆ่าตัวตาย เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 60
5
5
100.00
59
 โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
        โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 ถึงสิ้นปีงบประมาณ 2553 มีโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการถึงร้อยละ 100 ของโรงเรียนในอำเภอบางใหญ่ และมีโรงเรียนผ่านมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองร้อยละ   ระดับเงินร้อยละ และระดับทองแดงร้อยละ
การดำเนินงาน
        1. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางสาธารณสุขและเครือข่ายเพื่อให้ทราบถึงแนวคิด หลักการ ขั้นตอน วิธีการ เทคนิค และกระบวนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
        2. ชี้แจงทำความเข้าใจกับโรงเรียนในเขตรับผิดชอบเพื่อผลักดันให้โรงเรียนพัฒนาสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง
        3. เข้าประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองในเขตรับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและการประเมินรับรองปรับระดับ
        4. พัฒนาระบบการประเมินรับรองให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
        5. เป็นที่ปรึกษาให้กับโรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างโรงเรียนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน

จำนวนโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
เพชร
ทอง
เงิน
ทองแดง
0
20
1

0











60
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผ่านเกณฑ์การประเมิน
        นโยบายการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำหนดเป็นนโยบายสำคัญและทิศทางการพัฒนาระบบบริการระดับปฐมภูมิ โดยการส่งเสริมและพัฒนาให้ การยกระดับคุณภาพบริการมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ให้เกิดความชัดเจนโดยลำดับเป้าหมายของการพัฒนา ตั้งแต่ปี 2553 -2554 นั้นเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลและ กระทรวงสาธารณสุข โดยกำหนดให้ทุกสถานีอนามัยเป็น เป้าหมายการยกระดับ ซึ่งมีภารกิจทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการควบคุมป้องกันโรค ด้านการฟื้นฟู และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และเชื่อมโยงโครงการโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดี ใส่ใจ มีรอยยิ้ม (3ดี) เป้าหมายการพัฒนา ตั้งแต่ปี 2553 อำเภอบางใหญ่ มีสถานีอนามัยที่ดำเนินการยกระดับทั้งสิ้น 2  แห่ง และในปี 2554 ได้ยกระดับเพิ่มอีก 7 แห่ง รวมเป็น 9 แห่ง ดังนี้
CUP
รพ.สต.เครือข่าย
รพ.สต. เดี่ยว
ปี 2553
รพ.บางใหญ่
รพ.สต.บางใหญ่
ลูกข่าย รพ.สต.บ้านคลองโยง
รพ.สต.บ้านหนองกางเขน
ปี 2554
รพ.บางใหญ่
รพ.สต.วิหารประชา
ลูกข่าย รพ.สต.บ้านใหม่
          รพ.สต.บ้านดอนตะลุมพุก
รพ.สต.บางแม่นาง
รพ.สต.เสาธงหิน
รพ.พระนั่งเกล้า

รพ.สต.บางเลน

การดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินตามนโยบาย
        1. การปรับภาพลักษณ์
          การดำเนินการปรับภาพลักษณ์โรงพยาบาลสุขภาพระดับตำบล โดย ด้านการจัดหาครุภัณฑ์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ รพ.สต. รองรับงบประมาณ SP2 ได้จัดทำแผนสำหรับ รพ.สต.แต่ละขนาด ปรับปรุงด้านโครงสร้าง ภูมิทัศน์ให้ได้ตามเกณฑ์ รพ.3 ดี โดยจะดำเนินการจัดทำป้าย รพ.สต.ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนมีนาคม 2554







61
        2.     มีบุคลากรพร้อม
          การจัดสรร บุคลากร รพ.สต.ในอำเภอบางใหญ่
CUP
รพ.สต.
จำนวนบุคลากร (คน)
รพ.สต.เดี่ยว
รพ.บางใหญ่
รพ.สต.เสาธงหิน
4

รพ.สต.บางแม่นาง
3

รพ.สต.บ้านหนองกางเขน
4
รพ.พระนั่งเกล้า
รพ.สต.บางเลน
4
รพ.สต.เครือข่าย
รพ.บางใหญ่
รพ.สต.บางใหญ่
ลูกข่าย รพ.สต.บ้านคลองโยง
รพ.สต.วิหารประชา
ลูกข่าย รพ.สต.บ้านใหม่
          รพ.สต.บ้านดอนตะลุมพุก
8

11


        จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมา พบว่า บุคลากรยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จึงได้จัดหาบุคลากรโดยการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่งสายงานนักวิชาการ และใช้บุคลากรหมุนเวียนจ้างโรงพยาบาลบางใหญ่ สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพในสาขาต่าง ๆ เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป หลักสูตรผู้บริหาร
รพ.สต.
        3.     มีระบบบริการเชื่อมต่อแม่ข่าย
          สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางใหญ่ ได้วางแผนในการปรับปรุงการเชื่อมต่อ ดังนี้
          3.1 จัดหาครุภัณฑ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ เช่นกล้อง เครื่องคอมพิวเตอร์
          3.2 ปรับปรุงความเร็วอินเตอร์เน็ต ของ รพ.สต.ให้เพียงพอต่อระบบ จัดหาซอฟแวร์ที่ใช้ในระบบ และสร้างเครือข่ายภายในอำเภอ
          3.3 พัฒนาบุคลากรในการใช้งานระบบ
        4. มีคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.แบบมีส่วนร่วม 3 ภาคส่วน (อสม./อปท./ปชช./เอกชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้นำศาสนา)
          สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางใหญ่ ได้ดำเนินการประสานให้ รพ.สต.ได้คัดสรรหาคณะกรรมการในสาขาต่างๆ โดยได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการครบถ้วนแล้ว และจะมีการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยจัดอบรมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ในการจัดทำแผนชุมชนโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
       


62
        5. มีแผนสุขภาพตำบล โดยใช้เครื่องมือในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล SRM หรืออื่นๆ และนำแผนนั้นมาใช้ทรัพยากรจากชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางใหญ่ มีการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยจัดอบรมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ในการจัดทำแผนชุมชนโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ และได้เสนอของบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
ปัญหาที่คณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ให้ความสำคัญและจัดเข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาสุขภาพตำบล(SLM)
สถานบริการ
แผนพัฒนาสุขภาพตำบล
รพ.สต.เสาธงหิน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , โรคไม่ติดต่อ( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง),
ไข้เลือดออก ,อาหารปลอดภัย,อนามัยแม่และเด็ก
รพ.สต.บางเลน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , โรคไม่ติดต่อ( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง),
ไข้เลือดออก ,อาหารปลอดภัย
รพ.สต.บางแม่นาง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , โรคไม่ติดต่อ( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง),
ไข้เลือดออก ,อาหารปลอดภัย
รพ.สต.หนองกางเขน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , โรคไม่ติดต่อ( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง),
ไข้เลือดออก
รพ.สต.บางใหญ่
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , โรคไม่ติดต่อ( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง),
ไข้เลือดออก
รพ.สต. วิหารประชา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม , โรคไม่ติดต่อ( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง),
ไข้เลือดออก ,อาหารปลอดภัย
สรุปผลการประเมินตนเองตามเกณฑ์ ดังนี้
การดำเนินงาน
ดำเนินการได้/เป้าหมาย
ร้อยละ
ป้ายชื่อพร้อมโลโก้ตามแบบกองแบบแผน
9/9
100.00
มีบุคลากรครบตามเกณฑ์ (4 คน/ แห่ง , เครือข่าย 7 คน/แห่ง)
เดี่ยว 3/4
เครือข่าย 2/2
75.00
100.00
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับติดต่อกับรพ.แม่ข่าย
9/9
100.00
คณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.
9/9
100.00
การดำเนินงานตามเกณฑ์เพื่อการพัฒนาเป็น รพ.สต.ที่สมบูรณ์แบบ
        ได้ดำเนินการคัดเลือก รพ.สต.ที่ผ่านเกณฑ์ตามนโยบายมาพัฒนาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์เป็น รพ.สต.ที่สมบูรณ์แบบ โดยใช้ รพ.สต.ที่ดำเนินการแล้วในปี 2553 มาเป็นพี่เลี้ยง โดยให้ทุก รพ.สต.ได้ประเมินตนเอง
ได้ผล ดังนี้



เกณฑ์เพื่อการพัฒนาเป็น รพ.สต.ที่สมบูรณ์แบบ
63
ผลการประเมินตนเอง
ผ่าน(แห่ง)
ไม่ผ่าน(แห่ง)
1. สมรรถนะ
   1.1 เจ้าหน้าที่  1 : 1,250
   1.2 พยาบาล  1 : 5,000

3
4

6
5
2. ประสิทธิภาพ (การทำงานเชิงรุก)
   2.1 มีระบบส่งต่อ (มีระบบการส่งต่อผู้ป่วย และรับกลับ
         มีการวางแผน  ทำทะเบียนเยี่ยมผู้ป่วย)
   2.2 มีระบบเยี่ยมบ้าน(มีการประชุมปรึกษาหารือ วางแผนการ
        เยี่ยมบ้านตามกลุ่มเป้าหมายประชากร และกลุ่มเสี่ยง เช่น
        ผู้สูงอายุ พิการ เบาหวาน จิตเวช วัยรุ่น เด็ก ฯลฯ

9

9

-

-
3. ภาคี เครือข่ายมีส่วนร่วม
   3.1 นวัตกรรมการมีส่วนร่วม (เช่น โรงเรียน อสม. , ศูนย์เรียนรู้ ,
        องค์กรต่าง ๆ ร่วมดูแลสุขภาพ)
   3.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมจัดการสุขภาพ(จ้างลูกจ้าง ,
        ผลิตบุคลากรสาธารณสุข)

1

0

8

9
4. ชุมชนเข็มแข็ง
    4.1 จัดการปัญหาสุขภาพในชุมชน (มีมาตรการทางสังคมเกี่ยวกับ
          สุขภาพอย่างมีส่วนร่วม)
    4.2 จัดการปัญหาสุขภาวะในชุมชนตามวิถีชีวิตชุมชน (ตามบริบทของ
         พื้นที่ เช่นการแก้ปัญหาหนี้ การจัดการปัญหาสังคม ยาเสพติด
         เด็กติดเกมส์ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น

0

0

9

9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น